เคมีบำบัดที่ห้องนั่งเล่นในบ้าน Home Chemo Therapy Story

เคมีบำบัดที่ห้องนั่งเล่นในบ้าน

“เป็นเรื่องดีสำหรับผมที่ตอนนี้ผมสามารถทำงานบ้านมากมาย ผมอยากจะใช้เวลาที่ผมยังมีอยู่กับลูกสาวของผมครับ” - คุณชาญชัย ช่วยบุญ ผู้เข้าร่วมโครงการเคมีบำบัดที่ห้องนั่งเล่นในบ้าน

ที่ประตูบ้านของชัยในย่านชานเมืองของกรุงเทพ เขาได้แขวนป้ายซึ่งอธิบายอย่างชัดเจนถึงทัศนคติในชีวิตของเขา ป้ายไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปบ้านหลังเล็ก ๆ สีชมพู เขียนว่า “บ้านแสนสุข”  ชื่อจริงของชัย คือ คุณชาญชัย ช่วยบุญ แต่เขาชอบให้เรียกเขาด้วยชื่อเล่นมากกว่า  การมีชีวิตอย่างเป็นสุข เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักความสงบและเป็นมิตรอย่างชัย  เขาหัวเราะได้ในทุกโอกาส แก้มของเขาเต็มไปด้วยรอยยิ้มอย่างเห็นได้ชัดและดูเหมือนว่าเขาปฏิเสธที่จะยอมรับข้อเท็จจริงที่เศร้าและยากที่จะยอมรับได้  ความจริงก็คือ ในวัย 49 ปี เขารู้ว่าเขาอาจจะไม่แข็งแรงเหมือนเดิมอีก  เมื่อสองปีที่แล้วแพทย์ในกรุงเทพวินิจฉัยว่ามีเขาเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่  เขาจัดการกับสถานการณ์ที่ยากลำบากในแบบของเขา  ชัยกล่าวว่า “ผมรู้สึกพอใจ  เพราะผมสามารถจัดการกับสิ่งต่าง ๆ เช่นคนปกติและสามารถดูแลลูกสาวของผมที่บ้านได้  ถ้าอยู่ในโรงพยาบาลผมคงได้แต่นอนตลอดเวลา”

Home Chemo Therapy

ชัยได้เข้าร่วมในโครงการที่ถูกริเริ่มโดยแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดีในกรุงเทพ ซึ่งกำลังดำเนินการเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง  โปรแกรมนี้เป็นแนวคิดอันโดดเด่นที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับเคมีบำบัดที่บ้าน เพื่อให้พวกเขาไม่ต้องใช้เวลาเป็นวันหรือสัปดาห์อยู่บนเตียงในโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา  โปรแกรมนี้ช่วยเรื่องการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  นายแพทย์พิชัย จันทร์ศรีวงศ์  ผู้เป็นแพทย์ของชัยกล่าวว่า “โชคไม่ดีที่ประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว”  ในโรงพยาบาลของเราที่นี่ ได้ให้การรักษาผู้ป่วยประมาณ 1,000 รายต่อปี โดยเฉลี่ยมากกว่า 300 คนควรจะต้องได้รับเคมีบำบัด  อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลไม่สามารถจัดหาเตียงและบุคลากรได้อย่างเพียงพอ  สามปีที่ผ่านมานายแพทย์พิชัย จันทร์ศรีวงศ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการการให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดส่วนกลางที่บ้าน และผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี รศ. นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ทีมสหสาขาวิชาชีพทีให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งต้องเผชิญกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทั่วถึงและเท่าเทียมกันทีมสหสาขาฯ ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อที่จะรักษาผู้ป่วยที่ต้องการการบำบัดรักษาอย่างมีประสิทฺธิภาพ

การรักษาตัวในโรงพยาบาลมีราคาแพงและค่าใช้จ่ายของบุคลากรสูง  จะต้องมีแนวทางแก้ไขปัญหาซึ่งรับประกันได้ว่าเป็นการรักษาที่ดี ราคาไม่แพงและประหยัดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ  ระบบการดูแลสุขภาพในประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาและเยอรมนีมีแนวทางการแก้ปัญหาโดยทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น  ตัวอย่างเช่น ในประเทศเยอรมนี ระยะเวลาเฉลี่ยของการรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วย ลดลงจากประมาณ 13 วันในปี 2535 เหลือประมาณ 7 วันในปี 2561 หากเป็นไปได้ ผู้ป่วยจะกลับบ้านทันทีที่ทำได้และได้รับการดูแลในส่วนของผู้ป่วยนอกต่อไป  นี่เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและในหลาย กรณีที่สามารถให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้เร็วนั้นเป็นผลดีต่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วย การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้นในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยมาเป็นเวลานาน การนอนเป็นระยะเวลานานทำให้คนอ่อนแอลง  พวกเขาอยู่คนเดียวและคุณภาพชีวิตของพวกเขาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการรักษาตัว  ใครจะชอบใช้เวลาอยู่ในโรงพยาบาล?  นายแพทย์พิชัย จันทร์ศรีวงศ์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยากล่าว

รศ. นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบารามาธิบดี นายแพทย์พิชัย จันทร์ศรีวงศ์ อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา และทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่พยาบาลและเภสัชกรที่ดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็ง  ได้ริเริ่มโครงการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้านในรูปแบบใหม่ในแผนกมะเร็งเมื่อสามปีที่แล้ว  ผู้ป่วยได้การบริหารยาที่เคมีบำบัดที่โรงพยาบาลแล้วนำยาที่บรรจุใน elastomeric infusion pymp กลับบ้านได้   (ไม่มีในประเทศ)ไทย  มีพยาบาลผู้จัดการรายกรณีของโครงการ  ( home chemotherapy nurse case manager) ให้การดูแลเชิงรุก  (proactive) โทรติดตามและประเมินผู้ป่วยใน 3 cycle แรก และผู้ป่วยสามารถติดต่อพยาบาลผ่านทางแอปพลิเคชั่นหรือโทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่มีปัญหารึข้อสงสัยที่บ้าน โดยพยาบาลผู้จัดการรายกรณีจะต้องได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษ ซึ่งพร้อมตอบคำถามและให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ก่อนเริ่มการรักษาที่บ้าน ผู้ดูแลที่อยู่ในครอบครัวจะต้องเข้ารับการอบรมและฝึกปฏิบัติระยะสั้นที่โรงพยาบาล จนเข้าใจและมีความรู้ความสามารถที่จะดูแลตนเองและอุปกรณ์บริหารยาได้อย่างถูกต้อง  จึงจะผ่านเกณฑ์ที่ผู้ป่วยบริหารยาที่บ้านได้ ระหว่างการดำเนินโครงการโรงพยาบาลรามาธิบดีได้รับความรู้และประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของ บี.  บราวน์  ผู้คุ้นเคยกับกระบวนการที่คล้ายกัน จากประสบการณ์ของลูกค้าในโปแลนด์และอิตาลี ซึ่งยินดีแบ่งปันประสบการณ์  อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลในประเทศไทยได้รับแนวทางที่ถูกปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในประเทศ

ชัยอาศัยอยู่ในเขตชานเมืองของกรุงเทพฯ  อาการของเขาค่อนข้างดี และมีครอบครัวที่คอยดูแลอยู่รอบตัวเขา ดังนั้นเขาจึงผ่านเกณฑ์สำหรับเข้าร่วมโครงการนี้  สำหรับชัยตอนนี้เขาต้องไปโรงพยาบาลทุก ๆ 14 วันเพื่อรับยาบำบัดใหม่ชุดใหม่

ตอนนี้ก็ถึงเวลานั้นอีกแล้ว  ผู้ป่วยประมาณ 30 คนนอนเงียบ ๆ บนเก้าอี้แสนสบายในห้องบำบัดขนาดใหญ่ที่โรงพยาบาลซึ่งพวกเขาได้รับยาบำบัดในฐานะผู้ป่วยใน  ชัยเดินตามพวกเขาและนั่งบนโซฟาด้านหลังม่านในห้องที่อยู่ติดกัน  เขากับพยาบาลวิชาชีพสินีนุชที่บริหารยา รู้จักกันมาแล้ว ชัยยิงมุขตลกอีกเรื่องและพวกเขาทั้งคู่หัวเราะ  พยาบาลวิชาชีพ จับถุงเล็ก ๆ ที่มีความจุประมาณ 100 มิลลิลิตร ใส่กระเป๋าคาดหน้าท้อง ยาจะค่อยๆ ไหลเข้าสู่ร่างกายผ่านทางสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางที่เรียกว่า พอร์ตที่ถูกฝังใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก  ชัยใส่เสื้อเหมือนเดิม และคุณไม่สามารถมองเห็นกระเป๋าได้  “อุปกรณ์เคลื่อนที่” นี้จะต้องติดอยู่ในร่างกายส่วนบนของเขาเป็นเวลาสองวัน  “สำหรับการอาบน้ำค่อนข้างยาก  จะต้องเอาฟองน้ำเช็ดตัวสองวัน” ชัยกล่าว  แต่สำหรับเขาแล้วการนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  “ถึงกระนั้นอุปกรณ์เหล่านี้ก็ไม่รู้สึกว่าเป็นอุปสรรคและทุกอย่างก็เรียบร้อยดี”

ขึ้นอยู่กับปริมาณของยาที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว , ง่วงนอนหรือคลื่นไส้  ชัยป้อนข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นของเขาลงแอพสมาร์ทโฟนของโรงพยาบาล  หากมีอาการรุนแรง พยาบาลเวรจะโทร หรือแวะมาดูอาการเขาที่บ้าน  ชัยยังถ่ายภาพถุงยาเป็นประจำเพื่อส่งให้พยาบาลเห็นเมื่อถุงเหล่านั้นว่างเปล่า เมื่อยาหมดชัยต้องมาถอดอุปกรณ์ที่รพ. รามาธิบดี 

เมื่อตอนที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ชัยทำงานเป็นช่างและเขายังช่วยภรรยาขายอาหารและของใช้ในครัวเรือนที่ตลาดด้วย  ปัจจุบันเธออยู่กับลูกสาววัย 9 ปีและไปเยี่ยมญาติ  เครื่องใช้ในครัวและอาหารกองอยู่ในบ้านหลังเล็ก ๆ ของเขา - ภรรยาของเขายังทำงานอยู่ที่ตลาด  แต่ชัยไม่สามารถอยู่ที่โรงพยาบาลได้นานเพื่อรักษาตัว  “ผมต้องหาเลี้ยงชีพให้กับครอบครัวของผม  ดังนั้นผมจึงต้องหางานที่ผมสามารถนั่งทำงานได้”  ตอนนี้เขาเป็นคนขับแท็กซี่  เขาขับรถในกรุงเทพหลายครั้งต่อสัปดาห์  ด้วยบุคลิกที่ตลกและมีความเป็นมิตรของเขา เขาได้รับการตอบรับอย่างดีโดยเฉพาะในหมู่พยาบาล  “พยาบาลทุกคนมีหมายเลขโทรศัพท์ของเขา  เขาเป็นคนขับแท็กซี่สำหรับพนักงานทั้งหมดของเราในตอนนี้” สินีนุชพยาบาลกล่าว พร้อมกับรอยยิ้ม

โปรแกรมการรักษาตัวที่บ้านเป็นการบรรเทาภาระให้กับชัย  เพื่อให้โปรแกรมการรักษาดำเนินการได้ตามปกติ แพทย์จะต้องเอาชนะอุปสรรคทางจิตใจเสียก่อน  “ในประเทศของเราการรักษาจะได้ผลก็ต่อเมื่อคุณอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน” รศ. นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดีกล่าว“ บางคนกลัวว่าพวกเขาจะได้รับมาตรฐานการรักษาที่ต่ำกว่าเมื่อรักษาตัวที่บ้าน”  ตรงกันข้ามเป็นจริงๆแล้ว ประสบการณ์ที่ได้รับในช่วงสามปีที่ผ่านมาเป็นถือว่าเป็นกำลังใจที่ดีสำหรับผู้ดำเนินงานโครงการ ปัจจุบันมีผู้ป่วยราว 600 คนที่รักษาตัวอยู่ที่บ้าน       “นับตั้งแต่เริ่มโครงการ เราได้ถามผู้ป่วยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของพวกเขาและเราได้เปรียบเทียบผลการรักษากับผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล” นานแพทย์พิชัย จันศรีวงศ์  กล่าวว่าผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่บ้าน บอกว่าพวกเขามีระดับความพึงพอใจที่สูงขึ้นและผลการรักษาก็ดีพอ ๆ กับการรักษาตัวในโรงพยาบาล  “สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการสาหัส การรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ช่วยยืดอายุออกไปได้อีกสองหรือสามเดือนโดยเฉลี่ย”  นอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดพื้นที่แล้ว  ยังมีผู้คนจำนวนมากได้รับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมและมีเตียงผู้ป่วยเพียงพอในโรงพยาบาลสำหรับผู้ที่ต้องใช้จริง ๆ  ประสบการณ์นี้เป็นไปในเชิงบวกอย่างมาก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี รศ. นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เป้าหมายของเราคือการใช้โปรแกรมนี้ในโรงพยาบาลใกล้เคียงก่อน จากนั้นค่อยๆ ขยายต่อไปทั่วประเทศ”

เราไม่สามารถมองเห็นว่า ชัยกำลังทุกข์ทรมานจากโรคร้าย  เขาหยอกล้อกับครอบครัวในห้องครัวอย่างสนุกสนานและเตรียมกระทะสำหรับทำอาหาร เขาเพิ่งเริ่มงานอดิเรกใหม่นี้ได้ไม่นาน นั่นคือการทำอาหาร  “ผมต้องรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและผมก็กลับบ้านบ่อยขึ้น  ยิ่งไปกว่านั้นผมต้องการแบ่งเบาภาระหน้าที่ในการทำอาหารให้ภรรยาของผม”  ก่อนที่เขาจะป่วยเขาไม่เคยเข้าครัวทำอาหารเลย  ตอนนี้เขาชอบรสชาติของผักเพื่อสุขภาพและการลองสิ่งใหม่ ๆ นั้นเป็นเรื่องที่สนุกสำหรับเขา  “ผมคิดว่าผมทำอาหารได้อร่อยดี  แต่ภรรยาของผมไม่คิดอย่างนั้น”  ชัยกลอกตา  แต่แล้วเขาก็กล่าวด้วยน้ำเสียงที่จริงจัง “เป็นเรื่องดีสำหรับผมที่ตอนนี้ผมสามารถทำงานบ้านมากมาย  ผมอยากจะใช้เวลาที่ผมยังมีอยู่กับลูกสาวของผมครับ”

Home Chemo Therapy_Thailand
Home Chemo Therapy_600 patients
Home Chemo Therapy_app
Home Chemo Therapy_satisfied