ขอแสดงความยินดีกับองค์การอนามัยโลก (WHO)
บี. บราวน์ร่วมฉลองครบรอบ 10 ปี โครงการ Clean Care is Safer Care ซึ่งเป็นโครงการที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดทำขึ้นเพื่อรณรงค์เรื่องการล้างมือเพื่อลดอัตรา HAI
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO)อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล (HAI) ส่งผลต่อคนไข้หลายร้อยล้านคนทั่วโลก โดย Prof. Didier Pittet ผู้อำนวยการโครงการ Infection Control Programme จากมหาวิทยาลัยเจนีวา และหัวหน้าโครงการ Global Patient Safety: Clean Care is Safer Care กล่าวว่า “มีคนไข้ต้องเสียชีวิตหรือได้รับเชื้อ อย่างเช่น เชื้อดื้อยา MRSA หรือเชื้อรุนแรงอื่นๆจากการเข้ารับการรักษาพยาบาล อย่างไรก็ตาม บุคลากรทางการแพทย์สามารถป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวได้ด้วยการล้างมือ”
Prof. Pittet กล่าวถึง โครงการรณรงค์ขององค์การอนามัยโลก (WHO)
โครงการ Clean Care is Safer Care เริ่มต้นขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2548 และดำเนินการมาครบ 10 ปีในปีนี้ โครงการได้ให้ความสำคัญกับการล้างมือของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อลดการติดเชื้อในโรงพยาบาล หรือผลเสียที่จะตามมาอื่นๆ ซึ่งเราพบว่าการรณรงค์นี้ส่งผลดีและมีผลต่อการพัฒนาทางสาธารณสุขมากมาย
ทำไมการล้างมือจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ
Prof. Pittet: การล้างมือถือเป็นขั้นตอนแรกของการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลหรือการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา อย่างไรก็ตามพบว่าอัตราการปฏิบัติตามของบุคลากรในโรงพยาบาลหลายๆแห่งยังอยู่ในระดับต่ำ การปฏิบัติตามจะมีเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อใช้แนวทางการรณรงค์ขององค์การอนามัยโลก (WHO)5 ขั้นตอน ได้แก่ การให้ความรู้ (staff education)การติดตามผล ( monitoring and performance feedback) การแจ้งเตือน (workplace reminder) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรเรื่องความปลอดภัย ( institutional safety culture) และการเปลี่ยนแปลงระบบ (system change) การเปลี่ยนแปลงระบบ หมายถึง การใช้แอลกอฮอล์ล้างมือตามข้อบ่งชี้ขององค์การอนามัยโลก ( WHO) "การล้างมือตามหลัก 5 moment" ซึ่งสามารถติดตามและประเมินผลได้โดยใช้ระบบการให้คะแนนตามแบบ WHO Hand Hygiene Self Assessment Framework โดยโรงพยาบาลที่มีผลงานที่ยอดเยี่ยมจะได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับรางวัล Hand Hygiene Excellence Award
ถ้าหากว่าในอนาคตโครงการต้องถูกล้มเลิก เราจะเสียโอกาสอะไรไปบ้าง
Prof. Pittet: การรณรงค์การล้างมือที่ได้ผลจริงจะเกี่ยวพันโดยตรงกับอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ลดลง มีข้อมูลระบุว่า โครงการ 'Clean Care is Safer Care' สามารถช่วยชีวิตคนไข้ได้ 5-8 ล้านคนในแต่ละปี และถ้าหากโครงการต้องถูกล้มเลิกไป เราจะพลาดโอกาสในการช่วยชีวิตคนไข้อีกหลายล้านคนทุกปี
โครงการรณรงค์นี้เป็นการสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของการล้างมือเพื่ออความปลอดภัยของคนไข้ หลังจากนี้อีก10 ปี คิดว่าอะไรเป็นสิ่งที่ต้องทำต่อไป หรือเราควรให้ความสำคัญกับเรื่องใด
Prof. Pittet: แม้เราจะสามารถสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลากรในโรงพยาบาลหลายๆแห่งได้สำเร็จ แต่ก็ยังไม่ครบทั้งหมด ถ้าหากต้องการดำเนินการทั้งหมดอาจต้องใช้เวลาอีกนาน อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีโรงพยาบาลมากกว่า 20,000 แห่งใน 179 ประเทศทั่วโลกลงทะเบียนในโครงการ Save Lives: Clean Your Hands ซึ่งถ้าหากว่าโรงพยาบาลเหล่านี้สามารถชักนำโรงพยาบาลอื่นๆอีก 3 แห่งให้เข้าร่วมโครงการได้ เราจะสามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยและช่วยชีวิตคนไข้ได้อีกมาก วิดีโอ นี้เป็นการสรุปความสำเร็จของโครงการตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ก้าวต่อไปของการป้องกันการติดเชื้อจะเริ่มขึ้นในปี 2559 ด้วยความท้าทายใหม่ๆมากมาย
การล้างมือ
องค์การอนามัยโลก (WHO)และบี. บราวน์
บี. บราวน์อยู่ในส่วนของ Private Organization for Patient Safety (POPS) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่มีเป้าหมายในการลดการติดเชื้อในโรงพยาบาลด้วยวิธีส่งเสริม การล้างมือ ตามแนวทางของโครงการ Clean Care is Safer Care โดยบี. บราวน์ให้คำมั่นที่จะร่วมสร้างจิตสำนึกให้ผู้คนทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของการล้างมือ