การระงับปวด (Pain Therapy)
วางยา วางใจ ปลอดภัยได้ด้วยการเตรียมตัว
กว่าร้อยละ 21 ของผู้สูงอายุในประเทศไทย มักเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้ากลุ่มระงับปวด
For more information, please feel free to contact us.
https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html
ปัจจุบันความก้าวหน้าด้านการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการผ่าตัด การระงับความรู้สึก การดูแลระหว่างผ่าตัด ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น แต่บาดแผล ความเจ็บปวดในระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัดเป็นสิ่งที่ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นในกระบวนการรักษาผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องมีการให้ยาระงับปวด เพื่อให้สามารถจัดการกับอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการจัดการความเจ็บปวด
โดยทั่วไปศัลยแพทย์มักให้ผู้ป่วยทานยา หรือฉีดยาในยากลุ่มโอปิออยด์ (Opioids) เช่น มอร์ฟีน เข้าทางกล้ามเนื้อ แต่การระงับปวดด้วยการฉีดยากลุ่มโอปิออยด์เพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถลดอาการเจ็บปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แนวทางการระงับปวดรูปแบบใหม่จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญมาก อาทิ
• การฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย
• การฉีดยาเข้าช่องไขสันหลัง
• การฉีดยาชาเข้าสู่ชั้นเหนือดูรา
• การฉีดยาชาเฉพาะที่
‘ภาวะแทรกซ้อน’ ความเสี่ยงซ่อนเร้นระหว่างผ่าตัด
อย่างไรก็ตาม การระงับปวดด้วยหัตถการทางวิสัญญีมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง แม้พบไม่มาก แต่ก็มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตในผู้ป่วยบางราย เช่น
• เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
• ระบบหัวใจทำงานผิดปกติ
• เกิดการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท หรือการติดเชื้อ
• แพ้ยาชา
กลุ่มเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน
• เด็กแรกเกิด อายุตั้งแต่ 1-11 เดือน
• ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
• ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว : โรคความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะโลหิตจาง น้ำหนักเกิน
• ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ : สูบบุหรี่จัด
เตรียมตัวก่อนวางยาสลบ : ลดความเสี่ยง ช่วยเลี่ยงอันตราย
การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนทำหัตถการเพื่อการระงับปวด จึงนับว่าเป็นขั้นตอนสำคัญยิ่ง ในการช่วยเอื้ออำนวยให้พยาบาลและแพทย์วิสัญญีสามารถวางแผนป้องกันภาวะแทรกซ้อน พร้อมทั้งเตรียมตัวแก้ไขความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ตั้งแต่ก่อนเข้ารับการผ่าตัดตามสภาพความพร้อมและความเสี่ยงในผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น
• การประเมินความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย
• การตรวจอุปกรณ์หัตถการให้พร้อมใช้งาน
• การตรวจสอบเวชภัณฑ์และยา
• การประสานความพร้อมของทีมสหสาขาวิชาชีพ
ด้วยเหตุนี้ บี. บราวน์ จึงมุ่งพัฒนาความพร้อมของอุปกรณ์ ยา เครื่องมือต่าง ๆ ในการระงับปวด เพื่อช่วยสนับสนุนให้วิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น รวมถึงช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยลดระยะเวลาการพักรักษาที่โรงพยาบาล และฟื้นตัวกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างเร็วที่สุด
สนใจปรึกษาหรือสอบถามเวชภัณฑ์เกี่ยวกับการระงับปวด อาทิ
- ยาระงับความรู้สึกชนิดฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
- ยาระงับปวดชนิดฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
- ยาชาเฉพาะที่ชนิดฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
- เข็มสำหรับฉีดยาระงับความรู้สึกที่ส่วนของเส้นประสาท
- ชุดเข็มสำหรับฉีดยาระงับความรู้สึกชั้นเหนือดูรา
- เข็มสำหรับฉีดยาระงับความรู้สึกที่ช่องไขสันหลัง
- ชุดเข็มสำหรับฉีดยาระงับความรู้สึกที่ส่วนของเส้นประสาท
- เครื่องกระตุ้นเส้นประสาทส่วนปลาย
- อุปกรณ์บรรจุและให้ยาระงับปวดชนิดยางแบบไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
กรุณาแจ้งข้อมูลเพื่อให้ติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด
https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
บทความ ผลของโปรแกรมการเตรียมผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนต่อประสิทธิผลของการสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนปลายโดยใช้เครื่องกระตุ้นปลายประสาท https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57294/47508
บทความ ก้าวอีกขั้น..ศิริราชพัฒนา การระงับปวดก่อนและหลังการผ่าตัด ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1364
บทความ รูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดของวิสัญญีพยาบาล วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม) พ.ศ. 2560