การผ่าตัดผ่านกล้อง ก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยี
ไส้ติ่งอักเสบในเด็ก : ภาวะซ่อนเร้น อันตรายแทรกซ้อน
กว่า 80% ของเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี พบภาวะไส้ติ่งแตก เนื่องจากการวินิจฉัยและการรักษาที่ล่าช้า
ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้ากลุ่มผ่าตัดแผลเล็กเพิ่มเติม
For more information, please feel free to contact us as.
https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html
ไส้ติ่งอักเสบ ถือเป็นหนึ่งในสภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดช่องท้องอย่างเร่งด่วน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่จะพบน้อยลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โดยสถิติของโรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2558 - 2559 พบผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบมากถึง 250 คนต่อปี
แม้ไส้ติ่งอักเสบจะเป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยในทางศัลยศาสตร์ทั่วไป แต่หากได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ล่าช้า ก็อาจทำให้เกิดภาวะไส้ติ่งแตก จนนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ถึงร้อยละ 59 ไม่ว่าจะเป็น ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ภาวะลำไส้อุดตัน แผลผ่าตัดติดเชื้อ และมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงถึงร้อยละ 0.2
สาเหตุการเกิดไส้ติ่งอักเสบ
ไส้ติ่ง หรือท่อปลายตันของลำไส้ เป็นอวัยวะที่สามารถพบได้เป็นปกติในบริเวณพื้นที่ส่วนขวาล่างของหน้าท้องของทุกคน สาเหตถการเกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบ ประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยใหญ่ ๆ ดังนี้
- เกิดจากการบวมของต่อมน้ำเหลืองบริเวณโคนไส้ติ่ง ทำให้โพรงไส้ติ่งเกิดการอุดตัน
- เกิดจากเศษอาหารหรืออุจจาระเข้าไปสะสมอุดตันบริเวณไส้ติ่ง
สัญญาณเตือน ไม่ควรมองข้าม
ข้อมูลจากหัวหน้าทีมวิจัยและกุมารแพทย์ประจำศูนย์เด็ก Johns Hopkins Children’s Center ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า กว่าร้อยละ 80 ของเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี มักพบภาวะไส้ติ่งแตก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการวินิจฉัยและการรักษาที่ล่าช้า เนื่องจากปัญหาเรื่องการสื่อสารทำให้เด็กไม่สามารถบอกอาการเจ็บป่วยได้ชัดเจน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่ต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง โดยมีวิธีการสังเกตอาการเบื้องต้น ดังนี้
- เริ่มปวดท้องบริเวณตรงกลาง แล้วเลื่อนไปทางขวาล่างของช่องท้อง
- ปวดท้องต่อเนื่องและแรงขึ้น นานกว่า 6 ชม.
- มีไข้ต่ำ ท้องเสีย
- คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
- มีอาการเจ็บมากขึ้นเมื่อขยับตัว
ผ่าตัดผ่านกล้อง : แผลหายไว ห่างไกลปัจจัยติดเชื้อ
การรักษาภาวะไส้ติ่งอักเสบสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open Appendectomy) โดยมีแผลบริเวณท้องน้อยด้านขวา อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน มีการพัฒนาองค์ความรู้และเทคนิคในการผ่าตัดจนสามารถใช้การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Appendectomy) มาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาภาวะไส้ติ่งอักเสบ โดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจาก
- แผลมีขนาดเล็กไม่เกิน 1 ซม.
- ฟื้นตัวเร็ว ลดระยะเวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล
- ลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด เช่น การเกิดพังผืด การติดเชื้อ หนอง
- ลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่ออื่น ๆ โดยรอบ
- ศัลยแพทย์สามารถเห็นรอยโรคได้ชัดเจน ช่วยลดระยะเวลาในการผ่าตัด
มากไปกว่านั้นการผ่าตัดผ่านกล้องด้วยกล้องส่องตรวจชนิด 3 มิติยังสามารถช่วนให้แพทย์สามารถทำการผ่าตัดได้สะดวก แม่นยำ และลดเวลาผ่าตัดได้มากขึ้นอีกด้วย เมื่อเทียบกับกล้องส่องตรวจชนิด 2 มิติ
บี. บราวน์เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษาด้วยการผ่าตัด จึงมุ่งพัฒนาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดแผลเล็ก รวมถึงการผ่าตัดผ่านกล้อง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือผ่าตัดผ่านกล้อง MIS instrument, Taitanium Clip, กล้องส่องตรวจ 2 มิติและ 3 มิติ เพื่อช่วยขยายข้อจำกัดในการรักษาผู้ป่วย พร้อมทั้งสนับสนุนศัลยแพทย์และสหวิชาชีพผู้เกี่ยวข้องทุกท่านให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น แม่นยำ ลดการสูญเสียและสร้างความเชื่อมั่น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ป่วยได้มากที่สุด
สนใจสินค้ากลุ่มผ่าตัดแผลเล็ก อาทิ
- เครื่องมือผ่าตัดผ่านกล้อง MIS instrument
- ชุดกล้องส่องตรวจและผ่าตัดภาพสามมิติ
- ชุดกล้องส่องตรวจและผ่าตัดภาพสองมิติ
- อุปกรณ์ห้ามเลือด เช่น Stump Clip, Bulldogs temporary vessel Clip
กรุณาแจ้งข้อมูลเพื่อให้ติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด
https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
- บทความ ปัจจัยทำนายทางคลินิกต่อการเกิดไส้ติ่งแตกในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โดย นัทธ์หทัย กนกนาก จาก วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2564 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/253514/172339
- บทความ การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาไส้ติ่งอักเสบด้วยวิธีผ่าตัดผ่านกล้องกับแบบเปิดในโรงพยาบาลกลาง โดย สุภกิจ ฉัตรไชยาฤกษ์ จาก วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลกลาง
- บทความปริทัศน์ การผ่าตัดไส้ติ่งด้วยวิธีส่องกล้อง โดย ไพโรจน์ ส่งคุณธรรม จากเวชสารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2
- บทความ ผ่าตัดส่องกล้องไส้ติ่ง ตัดทิ้ง ฟื้นตัวง่าย หายเร็ว โดย โรงพยาบาลพญาไท http://bit.ly/3FehhA5
- บทความ ผ่าตัดไส้ติ่งด้วยการส่องกล้อง แผลเล็ก ไร้กังวล โดย โรงพยาบาลนครธน http://bit.ly/3LcCdv9
- บทความ การผ่าตัดไส้ติ่งผ่านกล้อง (Laparoscopic appendectomy) โดย จักรพันธ์ วิทยาไพโรจน์ และ เกรียงศักดิ์ เจนวิถีสุข ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น