การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ

อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็ก

...ในประเทศไทย พบว่ามีอัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็กสูงถึงร้อยละ 41.6* และอัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาที่เป็นอันตรายถึงชีวิตในผู้ป่วยเด็กพบสูงกว่าผู้ใหญ่มากถึง 3 เท่า**...

ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้ากลุ่มสารละลายทางหลอดเลือดดำ
For more information, please feel free to contact us.
https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html

ความคลาดเคลื่อนทางยา นับเป็นหนึ่งในประเด็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยที่มีความสำคัญ จากข้อมูลสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทย พบอุบัติการณ์ผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากความคลาดเคลื่อนทางยา จนเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มากถึงร้อยละ 9.9-11 โดยพบตั้งแต่ความคลาดเคลื่อนทางยาที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย เป็นอันตรายเล็กน้อย จนกระทั่งความคลาดเคลื่อนทางยาที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

กลุ่มยาที่เสี่ยงต่อการเกิดความคลาดเคลื่อนมากที่สุด คือ กลุ่มอิเล็กโทรไลต์และสารน้ำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มผู้ป่วยเด็ก ที่พบอัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาสูงกว่าผู้ใหญ่ประมาณ 3 เท่า เนื่องจากขนาดยาสำหรับผู้ป่วยเด็ก จำเป็นต้องคำนวนตามน้ำหนักตัว ซึ่งน้ำหนักตัวของผู้ป่วยเด็กวิกฤติมักเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการปรับขนาดยา นอกจากนี้ ยาส่วนใหญ่ที่ใช้ในผู้ป่วยเด็กวิกฤติมักเป็นยาที่มีดัชนีการรักษาแคบ (Narrow Therapeutic Index) ขนาดยาที่คลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อย จึงทำให้สามารถก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงได้

รวมถึงพฤติกรรมของตัวผู้ป่วยเด็กเอง ที่ยังคงเป็นวัยซุกซน ไม่อยู่นิ่ง ทำให้เกิดปัญหาการเคลื่อนออกของเข็มนอกเส้นเลือด มีการหักพับงอของสายน้ำเกลือ โอกาสที่ผู้ป่วยจะได้รับสารน้ำในปริมาณคลาดเคลื่อนจึงมีมากกว่าผู้ป่วยในวัยอื่น

แนวทางการป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา : ยาปลอดภัย ผู้ป่วยปลอดภัย

ความคลาดเคลื่อนทางยาสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของการใช้ยา เริ่มตั้งแต่การสั่งใช้ยา การคัดลอกคำสั่งใช้ยา การจ่ายยา และการบริหารยา โดยอาจเกิดจากปัญหาการไม่ระบุความแรงของยา ขนาดยาไม่เหมาะสม ความถี่หรือระยะเวลาในการให้ยามากเกินไป ระบุชื่อยาผิด คำสั่งใช้ยาไม่ชัดเจน ซ้ำซ้อน รวมทั้งการไม่สามารถตรวจพบความคลาดเคลื่อนทางยาในแต่ละขั้นตอนก่อนนำจ่ายยาสู่ผู้ป่วย

                  สำหรับแนวทางการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา เภสัชกรจะต้องประสานงานร่วมกับแพทย์ และทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย วิธีปฏิบัติ การมีกิจกรรมทบทวนความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เน้นการวิเคราะห์หาสาเหตุของความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน (Root Cause Analysis) เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงระบบ หรือกระบวนการทำงานเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำ รวมถึงหาแนวทางในการป้องกันความคลาดเคลื่อน โดยแบ่งตามขั้นตอนกระบวนการใช้ยา เช่น

                  • ขั้นตอนการสั่งใช้ยา : เขียนชื่อยาเต็ม ชัดเจน เลี่ยงคำย่อ เลี่ยงชื่อการค้า เขียนขนาดหรือความเข้มข้นโดยใช้หน่วยเมตริก เลี่ยงการเขียนทศนิยม ห้ามเขียนคำสั่งรักษาโดยใช้คำว่า RM หรือยาเดิม
                  • ขั้นตอนการคัดลอกคำสั่งยา : ตรวจสอบคำสั่งการรักษาของแพทย์ถึงชนิดของยา สารน้ำ ปริมาณ ความถี่ อัตราการให้ยาและสารน้ำ ข้อมูลผู้ป่วย สำหรับขั้นตอนนี้ บี. บราวน์ มีสินค้าในกลุ่มยาพร้อมใช้สำหรับทำการรักษาผ่านทางหลอดเลือดดำในบรรจุภัณฑ์กึ่งแข็ง เพิ่มความสะอาด ปลอดภัย ก่อนนำไปใช้ในกระบวนการรักษาผู้ป่วยทุกคน

                  • ขั้นตอนการจ่ายยา : จัดเตรียมยาเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมชนิดยา รูปแบบ ความแรงให้ถูกต้อง จัดทำฉลากยาชัดเจน เลือกภาชนะบรรจุเหมาะสม จัดปริมาณยาครบถ้วน ตรวจสอบความถูกต้องของยากับคำสั่งใช้ยาก่อนส่งมอบให้ผู้ป่วย

                  • ขั้นตอนการบริหารยา : ตรวจสอบการรั่วซึมของยาแต่ละชนิด วันหมดอายุ สังเกตความใส ความขุ่น โดยเฉพาะยาที่ให้ผ่านทางหลอดเลือดดำที่ส่วนใหญ่มักไม่ใช่ยาแบบพร้อมใช้งาน จำเป็นต้องนำมาเจือจาง ขั้นตอนนี้ บี. บราวน์ มีสินค้าเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการผสมยาตามคำสั่งแพทย์อย่างถูกต้อง สะอาด ปลอดภัย เหมาะกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าความคลาดเคลื่อนทางยาไม่สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องอาศัยการผสมผสานระหว่างวิธีการแก้ปัญหา และการใช้เทคโนโลยี เครื่องมือต่าง ๆ ที่จะช่วยป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บี. บราวน์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา ความทุ่มเทของบุคคลากรทางการ

แพทย์ รวมถึงสหวิชาชีพในการรับมือกับภาระงานจำนวนมากภายในโรงพยาบาล บี. บราวน์ จึงมุ่งมั่นพัฒนาโซลูชั่นสำหรับป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา โดยเฉพาะกลุ่มยาอิเล็กโทรไลต์และสารน้ำที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้การรักษาที่มีความซับซ้อนนั้นง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้นได้ ด้วยเวชภัณฑ์ในการให้ยาและสารน้ำทางหลอดเลือดดำครบถ้วนทั้งระบบ เพื่อประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยให้หายดี                 

สนใจสินค้ากลุ่มสารละลายทางหลอดเลือดดำ อาทิ

  • เครื่องให้ยาและสารละลายทางหลอดเลือดดำ
  • ชุดให้ยาและสารละลายทางหลอดเลือดดำ
  • ชุดให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
  • ชุดให้อาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร
  • ชุดให้ยาเคมีบำบัด
     

กรุณาแจ้งข้อมูลเพื่อให้ติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด
https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก

*อ้างอิงจากบทความ Pharmaceutical care in multidisciplinary team in pediatric ward at Nakhon Ratchasima hospital โดย โสภิตา กีรติอุไร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2546

**อ้างอิงจากบทความ Prevention of medication errors in the pediatric inpatient setting โดย Stucky E. ปี 2546

- นิพนธ์ต้นฉบับ ความคลาดเคลื่อนทางยาในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน สถาบันบำราศนราดูร โดย ปิยนุช สมตน และคณะ จากวารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 15 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2549
https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/10231/9001


- บทความ การพัฒนาระบบการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โรงพยาบาลบ้านนาสาร โดย ปรีชา เครือรัตน์ จากวารสารวิชาการแพทย์เขต 11 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - มีนาคม 2561
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/155381/112888

- บทความ ความคลาดเคลื่อนทางยา โดย กิตติพนธ์ เครือวังค์ จากวารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม 2561
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/161437/116404


- บทความรื้อวิชา การเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็ก โดย ธนธรณ์ ปิ่นรัตน์ และคณะ จากวารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปีที่ 35 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2561
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/view/125048/117265


- บทความ ความคลาดเคลื่อนทางยาและแนวทางป้องกันเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โดย กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม และคณะ จากวารสารออนไลน์ Veridian E - Journal ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนสิงหาคม 2552
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/6937/5980


- บทความ การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา (Medical Error) จากเอกสารระบบยา เครือข่ายบริการสุขภาพปากพนัง ปีงบประมาณ 2563
http://www.pknhospital.com/2019/data/starRPST/drug/Medication%20Error.pdf


- บทความ บทบาทพยาบาลในการบริหารจัดการยาความเสี่ยงสูง โดย นุชพร ดุมใหม่ และคณะ จากวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/253664/173899